messager

องค์การบริหารส่วนตำบล
ดงบัง
อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ

 
องค์การบริหารส่วนตำบลดงบัง call ข้อมูลการติดต่อ play_arrow วิดีโอกิจกรรมหน่วยงาน
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ องค์การบริหารส่วนตำบลดงบัง อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ
play_arrow ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลพื้นฐาน องค์การบริหารส่วนตำบลดงบัง อ.ลืออำนาจ จ.อำนาจเจริญ ******************************************************************* ส่วนที่ ๑. สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน ๑. ด้านกายภาพ ๑.๑ ที่ตั้ง ชุมชนดงบังมีประวัติความเป็นมา การตั้งถิ่นฐานการปกครอง วิถีการดำเนินชีวิตจากการบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ที่เล่าสืบต่อกันมา พอรวบรวมเป็นข้อมูลโดยสังเขปคือ มีการตั้งถิ่นฐานของราษฎรในสมัยรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประมาณ พ.ศ. ๒๓๖๐ โดยราษฎรอพยพมาจากหมู่บ้านลืออำนาจ (ในเขตเทศบาลตำบลอำนาจในปัจจุบัน) โดยทางเกวียนแบกหามสัมภาระต่างๆ มาตั้งถิ่นฐานที่บ้าน (ดงบ้านยาง) ตั้งอยู่ทิศตะวันตกบ้านเสาเล้าในปัจจุบัน ต่อมาได้เกิดโรคระบาดราษฎรล้มป่วยและตายจำนวนหนึ่ง จึงอพยพผู้คนครอบครัวโดยทางเกวียนขนสัมภาระสิ่งของต่างๆ และสัตว์เลี้ยงไปทางทิศตะวันออก เดินทางประมาณ ๒ กิโลเมตร โดยทางเกวียน (พาหนะที่ใช้วัวลากจูง ๒ ตัว) แอกที่คอวัวเกิดหัก จึงไม่สามารถเดินทางต่อไปได้ จึงพักแรม ณ บริเวณ นั้น และตั้งเป็นหมู่บ้าน ชื่อ บ้านกุดแอก (ตามตำนานแอกหัก) อยู่มาหลายสิบปี เกิดโรคอหิวาระบาด หรือชาวบ้านเรียกว่าโรคห่า ชาวบ้านจึงเดินทางไปทางทิศตะวันออกอีก โดยตั้งชื่อหมู่บ้านว่า (บ้านขามป้อม) ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นบ้านโนนจาน และกลุ่มหนึ่งเดินทางไปทางทิศตะวันตก ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า บ้านดงบัง จนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันชาวบ้านได้เรียกชื่อบ้านกุดแอกเป็น บ้านโนนบ้านเก่า หลักฐานยืนยันว่ามีการตั้งถิ่นฐานของราษฎร ในสมัยรัชกาลที่ ๒ ซึ่งสันนิษฐานจากหลักฐานโบราณสถาน โบราณวัตถุ คือ ใบเสมาที่ดงบ้านยาง – หนองกุดสิม ต้นศรีมหาโพธิ์โนนบ้านเก่า ประวัติการปกครองหมู่บ้าน มีรายชื่อกำนัน ดังต่อไปนี้ ๑. นายใส ขันติกิจ เป็นกำนันคนแรก ๒. นายซุย วรศาสตร์ เป็นกำนันคนที่ ๒ (ในสมัยนี้ได้แบ่งเขตการปกครองออกเป็นหลายหมู่บ้าน ในรัชกาลที่ ๖) ๓. นายเลิง หาดี เป็นกำนันคนที่ ๓ ๔. นายรินทร์ ต้นเกตุ เป็นกำนันคนที่ ๔ ๕. นายไข มะดารัก เป็นกำนันคนที่ ๕ ๖. นายยงค์ ต้นโพธิ์ เป็นกำนันคนที่ ๖ ๗. นายอุเทน กาเผือก เป็นกำนันคนที่ ๗ ๘. นายแสวง ยืนยั่ง เป็นกำนันคนที่ ๘ ๙. นายสุวรรณ์ พันธ์วงศ์ เป็นกำนันคนที่ ๙ ๑๐. นายชัยวัฒน์ พันธุมา เป็นกำนันคนที่ ๑๐ (คนปัจจุบัน) ที่ตั้ง หมู่ที่ ๑๕ บ้านดอนชี ตำบลดงบัง อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ ๓๗๑๒๐เบอร์โทรศัพท์ ๐-๔๕๕๒-๕๙๐๐ ก่อตั้งตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๙ ห่างจากอำเภอลืออำนาจ ประมาณ ๑๗ กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดอำนาจเจริญ ๓๗ กิโลเมตร ใช้ระยะเวลาประมาณ ๔๐ นาที อาณาเขต ทิศเหนือ จด ตำบลหนองมะแซว,ตำบลปลาค้าวอำเภอเมืองอำนาจเจริญ ทิศใต้ จด ตำบลดุมใหญ่ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี ทิศตะวันออก จด ตำบลไม้กลอน อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ ทิศตะวันตก จด ตำบลเปือย,ตำบลแมด อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ เนื้อที่ มีเนื้อที่ทั้งหมด ๒๘,๑๒๕ ไร่ หรือ ๔๕.๒๓ ตารางกิโลเมตร ๑.๒ ลักษณะภูมิประเทศ ตำบลดงบัง มีสภาพพื้นที่ทั่วไปเป็นที่ราบดอน มีลำห้วยไหลผ่าน ๒ สาย คือ ห้วยจันลัน ลำห้วยแซว ประชากรประกอบอาชีพทำนาเป็นส่วนใหญ่ ๑.๓ ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนแห้งแล้ง มี ๓ ฤดู ฤดูร้อน เดือนกุมภาพันธ์-เดือนเมษายน อุณหภูมิเฉลี่ย ๓๘ องศาเซลเซียส ฤดูฝน เดือนพฤษภาคม-กันยายน อุณหภูมิเฉลี่ย ๓๐ องศาเซลเซียส ฤดูหนาว เดือนตุลาคม-เดือนมกราคม อุณหภูมิเฉลี่ย ๒๘ องศาเซลเซียส ๑.๔ ลักษณะของดิน ลักษณะของดินในเขตพื้นที่ตำบลดงบัง ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นดินร่วนปนทรายไม่อุ้มน้ำ ๑.๕ ลักษณะของแหล่งน้ำ ๑.๕.๑ แหล่งน้ำธรรมชาติ มีลำห้วย ๒ สาย บึง,หนองและอื่น ๆ ๓๒ แห่ง ๑.๕.๒ แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น ฝายประชาอาสา ๓ แห่ง ฝายน้ำล้น ๗ แห่ง บ่อน้ำตื้น ๖๗ แห่ง บ่อน้ำโยก ๕๖ แห่ง ถังน้ำ ค.ส.ล. ๕๘ แห่ง ระบบประปาหมู่บ้าน ๑๖ แห่ง ๑.๖ ลักษณะของไม้และป่าไม้ ๑.๖.๑ ป่าไม้ในชุมชน ๑๒ แห่ง ๑.๖.๒ ป่าช้าสาธารณะ ๙ แห่ง ๒. ด้านการเมืองการปกครอง ๒.๑ เขตการปกครอง องค์การบริหารส่วนตำบลดงบัง ได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อวันที่ ๑๖ เดือน ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ แบ่งเขตการปกครอง ทั้งหมด ๑๖ หมู่บ้าน 3. ประชากร ประชากรทั้งสิ้น ๖,๓๒๑ คน แยกเป็นชาย ๓,๑๒๕ คน หญิง ๓,๑๙๖ คน จำนวนครัวเรือน ๑,๘๑๗ ครัวเรือน ความหนาแน่นเฉลี่ย ๑๓๙.๒๕ คนต่อตารางกิโลเมตร 4. สภาพทางสังคม ๔.๑ การศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ๔ แห่ง - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกุงชัย - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดงบัง - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดอนชี - ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์วัดศรีโพธิ์ชัย บ้านเหล่าฝ้าย โรงเรียนประถมศึกษา ๖ แห่ง - โรงเรียนบ้านกุงชัย - โรงเรียนบ้านดงบังโนนจานเสาเล้า - โรงเรียนบ้านหนองยาง - โรงเรียนบ้านเหล่าฝ้าย - โรงเรียนดอนชีหนองมะยอด - โรงเรียนบ้านจอกพัฒนา โรงเรียนมัธยมศึกษา (ขยายโอกาส) ๑ แห่ง - โรงเรียนบ้านกุงชัย กศน.ตำบลดงบัง ๑ แห่ง ที่อ่านหนังพิมพ์ประจำหมู่บ้าน ๑๖ แห่ง ๔.๒ การสาธารณสุข ประชากรส่วนใหญ่มีสุขภาพที่ดี โรคที่มักเกิดในชุมชนได้แก่ โรคเบาหวาน ความดัน เอดส์ ไข้เลือดออก และโรคอื่นๆ มีหน่วยงานด้านสาธารณสุข ๒ แห่ง ดังนี้ ๑. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนชี ตั้งอยู่ หมู่ที ๑๕ บ้านดอนชี ตำบลดงบัง อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ รับผิดชอบ ๘ หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ ๕,๙,๑๕ บ้านดอนชี หมู่ที่ ๗,๑๖ บ้านจอก หมู่ที่ ๑๒ บ้านหนองมะยอด หมู่ที่ ๔,๘ บ้านเหล่าฝ้าย ๒. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงบัง ตั้งอยู่ หมู่ที ๑ บ้านดงบัง ตำบลดงบัง อำเภอ ลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ รับผิดชอบ๘ หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ ๑,๓ บ้านดงบัง หมู่ที่ ๑๐,๑๑,๑๓ บ้านกุงชัย หมู่ที่ ๒ บ้านโนนจาน หมู่ที่ ๖ บ้านหนองยาง หมู่ที่ ๑๔ บ้านเสาเล้า ๔.๓ อาชญากรรม ไม่มีปัญหาการเกิดอาชญากรรมในพื้นที่ ๔.๔ ยาเสพติด ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดงบัง พบว่ายังมีกลุ่มผู้เสพ ผู้ค้ากลุ่มเสี่ยง ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลดงบัง ได้ตระหนักถึงพิษภัยของปัญหายาเสพติด และยังมีการตั้งงบประมาณสนับสนุนตลอดจนการบูรณาการกับหน่วยงานอื่น เพื่อดำเนินการเรื่องการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในเขตพื้นที่ตำบลดงบัง ๔.๕ กาสังคมสงเคราะห์ องค์การบริหารส่วนตำบลดงบัง ได้มีการดำเนินการด้านสังคมสงเคราะห์ ดังนี้ ๑. ดำเนินการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ ๒. รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ๓. ประสานการทำบัตรผู้พิการ ๔. ตั้งงบประมาณเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ยากไร้ ยากจน รายได้น้อย เด็กยากจนไร้ที่พึ่ง ๔. ระบบบริการพื้นฐาน ๕.๑ การคมนาคมขนส่ง ถนนลาดยาง ๑ สาย ถนนคอนกรีต เชื่อหมู่บ้าน ๑ สาย ถนนดินลูกรัง ๓๐ เส้น ถนนคอนกรีตภายในหมู่บ้านครบทุกหมู่บ้าน สะพาน ๙ แห่ง ๕.๒ การไฟฟ้า องค์การบริหารส่วนตำบลดงบัง มี๑๖หมู่บ้าน มีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือน ๕.๓ การประปา องค์การบริหารส่วนตำบลดงบัง ได้ถ่ายโอนภารกิจการบริหารกิจการระบบประปาให้กับหมู่บ้านเป็นผู้บริหารจัดการสามารถให้บริการคลอบคลุมได้ทุกครัวเรือน เป็นระบบประปาใต้ดิน จำนวน ๒๑ แห่ง ๕.๔ โทรศัพท์ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดงบัง ส่วนใหญ่จะใช้โทรศัพท์ส่วนบุคคล ไม่มีตู้โทรศัพท์สาธารณะให้บริการ ๕.๕ ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่งและวัสดุ ครุภัณฑ์ มีที่ทำการไปรษณีย์ย่อย ๑ แห่ง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๑ บ้านดงบัง มีหอกระจายข่าวเสียงตามสาย สำหรับประชาสัมพันธ์ข่าวสารครบทุกหมู่บ้าน และมีบริการอินเตอร์เน็ท ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลดงบัง ทุกวัน ๕. ระบบเศรษฐกิจ ๖.๑ การเกษตร ประชากรส่วนใหญ่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดงบัง มากกว่าร้อยละ ๗๐ ประกอบอาชีพด้านการเกษตร ทำนา ทำไร่ ทำสวน อื่นๆ ๖.๒ การประมง ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดงบัง ไม่มีการประกอบอาชีพด้านการประมง ๖.๓ การปศุสัตว์ เป็นการประกอบการในลักษณะการเลี้ยงในครัวเรือน เพื่อเป็นอาชีพเสริม เช่น การเลี้ยงเป็ด ไก่ โค กระบือ สุกร มีโรงเลี้ยงไก่ ๒ แห่ง และโรงเลี้ยงสุกร ๑ แห่ง ๖.๔ การบริการ - ๖.๕ การท่องเที่ยว - ๖.๖ อุตสาหกรรม เป็นการประกอบอุตสาหกรรมขนาดย่อม เช่น โรงสีข้าว โรงเย็บผ้า ฯลฯ ๖.๗ การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ ปั๊มน้ำมัน ๒ แห่ง โรงสีข้าว ๒๕ แห่ง ร้านขายของชำ ๓๘ ร้าน ร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ ๑๐ ร้าน รับเหมาก่อสร้าง ๑๐ ราย ร้านขายอาหาร ๑๐ ร้าน กลุ่มอาชีพ ๓ กลุ่ม กลุ่มออมทรัพย์ ๑๖ กลุ่ม ๖.๘ แรงงาน แรงงานในพื้นที่องค์การริหารส่วนตำบลดงบัง แบ่งเป็นแรงงานภาคเกษตร แรงงานภาคเอกชน และแรงงานภาครัฐแรงงานส่วนใหญ่เป็นแรงงานภาคเกษตร ๗. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม ๗.๑ การนับถือศาสนา - นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ ๙๘ - นับถือศาสนาคริสต์ อื่น ๆ ร้อยล่ะ ๒ - วัด ๙ แห่ง - สำนักสงฆ์ ๒ แห่ง - คริสตจักร ๒ แห่ง ๗.๒ ประเพณีและงานประจำปี - ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ เดือน มกราคม - ประเพณีวันสงกรานต์ เดือน เมษายน - ประเพณีวันลอยกระทง เดือน ตุลาคม-พฤศจิกายน - ประเพณีวันเข้าพรรษา ออกพรรษา เดือน กรกฎาคม-ตุลาคม-พฤศจิกายน - ปะเพณีบุญปราสาทผึ้ง เดือน พฤศจิกายน ๗.๓ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น -ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประชาชนในเขตตำบลดงบัง มีการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ การทำเครื่องจักสานใช้ในครัวเรือน การใช้ประโยชน์จากสมุนไพรพื้นบ้าน การทำมาหากินโดยวิธีทางธรรมชาติ - ภาษาถิ่น ประชาชนส่วนใหญ่ในเขตตำบลดงบัง ใช้ภาษาพื้นเมือง ภาษาอีสาน ๗.๔ สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก ประชาชนในเขตตำบลดงบัง ได้มีการผลิตของใช้พื้นเมืองไว้ใช้ในชีวิตประจำวัน และเหลือไว้สำหรับจำหน่าย เช่น ผ้าขิด ผ้าไหม เครื่องจักสานที่ทำจากไม้ไผ่ ๘. ทรัพยากรธรรมชาติ ๘.๑ น้ำ น้ำที่ใช้ในการอุปโภค บริโภค เป็นน้ำที่ได้จากน้ำฝน แหล่งน้ำตามธรรมชาติ น้ำใต้ดิน โดยผ่านกระบวนการของระบบประปา ในช่วงฤดูแล้งจะมีบางหมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภค องค์การบริหารส่วนตำบลดงบัง จึงต้องมีการให้บริการเรื่องรถน้ำ เพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน สำหรับน้ำเพื่อการเกษตรส่วนใหญ่จะอาศัยน้ำฝน น้ำจาก ลำห้วย ลำธาร หนองน้ำสาธารณะ ซึ่งยังไม่เพียงพอสำหรับการทำการเกษตรตลอดฤดูกาล ๘.๒ ป่าไม้ ป่าไม้ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลดงบัง มีลักษณะเป็นป่าเบญจพรรณผลัดใบในฤดูแล้ง ช่วงตั้งแต่เดือน มกราคม-เมษายน มีพันธุ์ไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ เช่น ประดู่ ยางนา เต็ง รัง แดง มีลักษณะเป็นป่าโปร่ง มีไม้ยืนต้นกระจายอยู่ห่างๆ ยังคงความสมบูรณ์ของป่าตามธรรมชาติ ๘.๓ คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดงบัง ยังมีปริมาณเพียงพอต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในพื้นที่ สภาพดินมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทรายเหมาะแก่การทำการเกษตร ทำนาปลูกข้าว ทำสวน ทำไร่ น้ำส่วนใหญ่จะเป็นน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติห้วย หนอง คลอง บึง ที่ใช้เพื่อการเกษตร

ข้อมูลพื้นฐาน

forward ผลิตภัณฑ์ในชุมชน
สินค้าโอทอป ตำบลดงบัง อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ[30 มีนาคม 2565]
 
play_arrow สำรวจความพึงพอใจ
สำรวจความพึงพอใจ


play_arrow สถานที่น่าสนใจ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก บ้านกุงชัย[30 มีนาคม 2565]
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก บ้านดงบัง[30 มีนาคม 2565]
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก บ้านดอนชี[30 มีนาคม 2565]
ศูนย์อบรมเด็กอ่อนก่อนเกณฑ์[30 มีนาคม 2565]
 
play_arrow สถานที่ราชการควรรู้
สถานที่ราชการควรรู้
งานสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ จำนวน 2 แห่ง 1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงบัง - ที่ตั้ง หมู่ที่ 1 บ้านดงบัง ต.ดงบัง อ.ลืออำนาจ จ.อำนาจเจริญ - เขตรับผิดชอบ 8 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1,3 บ้านดงบัง หมู่ที่ 10,11,13 บ้านกุงชัยหมู่ที่ 2 บ้านโนนจาน หมู่ที่ 6 บ้านหนองยาง หมู่ที่ 14 บ้านเสาเล้า 2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนชี - ที่ตั้ง หมู่ที่ 15 บ้านดอนชี ต.ดงบัง อ.ลืออำนาจ จ.อำนาจเจริญ - เขตรับผิดชอบ 8 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 5,9,15 บ้านดอนชี หมู่ที่ 7,16 บ้านจอก หมู่ที่ 12 บ้านหนองมะยอด หมู่ที่ 4,8 บ้านเหล่าฝ้าย สถานศึกษา โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 6 แห่ง 1. โรงเรียนบ้านดงบังโนนจานเสาเล้า - ที่ตั้ง บ้านดงบัง หมู่ที่ 1 ต.ดงบัง อ.ลืออำนาจ จ.อำนาจเจริญ - เด็กนักเรียน จำนวน 51 คน 2. โรงเรียนบ้านกุงชัย - ที่ตั้ง บ้านกุงชัย หมู่ที่ 11 ต.ดงบัง อ.ลืออำนาจ จ.อำนาจเจริญ - เด็กนักเรียน จำนวน 115 คน 3. โรงเรียนดอนชีหนองมะยอด - ที่ตั้ง บ้านดอนชี หมู่ที่ 15 ต.ดงบัง อ.ลืออำนาจ จ.อำนาจเจริญ - เด็กนักเรียน จำนวน 111 คน 4. โรงเรียนบ้านหนองยาง - ที่ตั้ง บ้านหนองยาง หมู่ที่ 6 ต.ดงบัง อ.ลืออำนาจ จ.อำนาจเจริญ - เด็กนักเรียน จำนวน 36 คน 5. โรงเรียนบ้านจอกพัฒนา - ที่ตั้ง บ้านจอก หมู่ที่ 7 ต.ดงบัง อ.ลืออำนาจ จ.อำนาจเจริญ - เด็กนักเรียน จำนวน 40 คน 6. โรงเรียนบ้านเหล่าฝ้าย - ที่ตั้ง บ้านเหล่าฝ้าย หมู่ที่ 8 ต.ดงบัง อ.ลืออำนาจ จ.อำนาจเจริญ - เด็กนักเรียน จำนวน 36 คน สถานศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 4 ศูนย์ 1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดงบัง - ที่ตั้ง บ้านดงบัง หมู่ที่ 1 ต.ดงบัง อ.ลืออำนาจ จ.อำนาจเจริญ - บุคลากร จำนวน 2 คน - เด็กนักเรียน จำนวน 22 คน 2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดอนชี - ที่ตั้ง บ้านดอนชี หมู่ที่ 15 ต.ดงบัง อ.ลืออำนาจ จ.อำนาจเจริญ - บุคลากร จำนวน 2 คน - เด็กนักเรียน จำนวน 23 คน 3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกุงชัย - ที่ตั้ง บ้านกุงชัย หมู่ที่ 11 ต.ดงบัง อ.ลืออำนาจ จ.อำนาจเจริญ - บุคลากร จำนวน 3 คน - เด็กนักเรียน จำนวน 36 คน 4. ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์วัดศรีโพธิ์ชัย บ้าน เหล่าฝ้าย - ที่ตั้ง บ้านเหล่าฝ้าย หมู่ที่ 8 ต.ดงบัง อ.ลืออำนาจ จ.อำนาจเจริญ - บุคลากร จำนวน 2 คน - เด็กนักเรียน จำนวน 14 คน